วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14
วันจันทร์ ที่ 25 เมษายน 2559 (เรียนชดเชย)

บรรยากาศการเรียน
             วันนี้มีการเปลี่ยนห้องเรียน คือ ย้ายมาเรียนที่ตึก 4 ตึกคณะศึกษาศาสตร์ ทำให้อาจารย์สะดวกในการเข้าสอนเพราะอยู่ใกล้ห้องพักครู บรรยากาศการเรียนเป็นไปอย่างสบายๆ มีการนั่งแบ่งกลุ่มตามที่จัดไว้เหมือนเดิม เนื่องจากมีโต๊ะยาวทำให้สะดวกมากขึ้นในการนั่งหันหน้าปรึกษาพูดคุยกันในกลุ่ม


สาระ
กิจกรรมการเรียนการสอน
          เริ่มต้นด้วยอาจารย์ขอดูแผนวันศุกร์ของแต่ละกลุ่ม และให้คำเเนะนำเพิ่มเติม และอาจารย์เเจกเอกสารมาหนึ่งชุดสำหรับ 1 กลุ่ม คือ แผนการจัดประสบการณ์ โดยให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเขียนข้อมูลหน่วยของเราลงไป โดยอาจารย์ได้ให้คำเเนะนำในแต่ละขั้นตอน

          หลังจากจัดประสบการณ์หน่วยเรื่อง ของเล่นของใช้ เด็กเกิดการเรียนรู้ ดังนี้
1. เด็กสามารถแยกประเภทของของเล่นของใช้ได้ถูกต้อง
2. เด็กสามารถบอกลักษณะของของเล่นของใช้ได้
3. เด็กสามารถเก็บรักษาดูเเล จัดหมวดหมู่ของเล่นของใช้ได้อย่างเป็นระเบียบ
4. เด็กบอกถึงประโยชน์ของของเล่นของใช้ได้ว่ามีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันอย่างไร
5. เด็กสามารถใช้ของเล่นของใช้ได้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ

2) สาระที่ควรเรียนรู้ สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
3) เนื้อหา
4) เเนวคิด ของเล่นของใช้เป็นสิ่งไม่มีชีวิตอยู่รอบตัวเรา มีหลายชนิดมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป มีลักษณะรูปร่าง พื้นผิว ขนาด อาจเหมือนก็แตกต่างกันก็ได้ และต้องมีการดูแลรักษาซึ่งอาจมีประโยชน์และข้อควรระวัง
5) ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
- การเจริญเติบโตตามวัย น้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์
- ประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อกับอวัยวะ การเคลื่อนไหว
ด้านอารมณ์-จิตใจ
- แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
- รู้จักอารมณ์ของผู้อื่น
- มีสุนทรียภาพ
ด้านสังคม
- รู้จักตนเองช่วยเหลือตนเอง
- มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
- มีคุณธรรม จริยธรรม
ด้านสติปัญญา
- การใช้ภาษา
- การคิด การคิดอย่างมีเหตุผล,คิดวิเคราะห์
              การคิดอย่างสร้างสรรค์
- การสังเกต จำแนก เปรียบเทียบ จำนวน มิติสัมพัธ์ และเวลา
ประสบการณ์สำคัญและพัฒนาการหรือคุณลักษณะตามวัย * อยู่ในหนังสือหลักสูตร
กรอบพัฒนาการมีไว้เพื่อจัดการเรียนรู้ตามวัยและเป็นเกณฑ์ในการประเมินเด็ก
*เนื้อหา
6) การบูรณาการทักษะรายวิชา
คณิตศาสตร์
- การจัดหมวดหมู่
- จำนวน
- การจับคู่
- การจำเเนก
- การเปรียบเทียบจากไดอะเเกรม
- เวลา
- รูปร่างรูปทรง
- การรวม
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา
- เก็บของเข้าที่
- การปฏิบัตติตนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
พลศึกษา/สุขศึกษา
- เคลื่อนไหวร่างกาย
ศิลปะสร้างสรรค์ (กิจกรรมพิเศษ)
- การประดิษฐ์ของเล่นของใช้
- การตัดรูป เขียนคำศัพท์ของเล่นของใช้ลงในช่องว่าง
- ปั้นดินน้ำมันรูปของเล่นของใช้
ภาษา
- การฟัง ฟังนิทาน ฟังเพลง ฟังคำคล้องจอง
- การพูด โต้ตอบเเสดงความคิดเห็น
- การอ่าน อ่านนิทาน ร้องเพลง อ่านคำคล้องจอง
- การเขียน เขียนคำที่สัมพันธ์กับภาพ
7) แผนที่เครือข่ายใยแมงมุม (web กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม )

8) แผนการสอนวันจันทร์ - วันศุกร์
9) เทคนิคในการจัดกิจกรรม
ได้แก่ นิทาน เพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย การสนทนา การทดลอง สาธิต ทำแผนภูมิ เกม ระดมความคิด กิจกรรมสะท้อนภาษาธรรมชาติ ดดยการใช้คำถามปลายเปิดกับเด็กเพื่อให้อิสระในการเรียนรู้

ทักษะ
1. ทักษะการแสดงความคิดเห็น
2. ทักษะการนำเสนอ
3. ทักษะการเขียนสรุปข้อมูล
4. ทักษะการคิด
5. ทักษะการต่อยอดความรู้
6. ทักษะการฟัง
7. ทักษะการสรุปองค์ความรู้
8. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น

การนำไปประยุกต์ใช้
       ได้ความรู้ในเรื่องของแผนการจัดประสบการณ์ องค์ประกอบต่างๆของแผน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการทำแผนการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ โดยบูรณาการให้ได้มากที่สุดในการทำกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมที่ต้องจัดประสบการณ์ให้กับเด็กในทุกๆวัน นอกจากจะได้รู้แผนการจัดประสบการณ์ของหน่วยตนเองแล้ว ยังรู้เกี่ยวกับแผนการจัดประสบการณ์ของเพื่อนกลุ่มอื่น ได้แก่ หน่วยกล้วย หน่วยยานพาหนะ และหน่วยผลไม้ ทำให้มีประสบการณ์และสามารถนำไปต่อยอดในอนาคตได้

เทคนิคการสอน
1. ใช้คำถาม
2. บรรยาย
3. ทบทวนความรู้
4. ให้ทำงานร่วมกัน

ประเมินครูผู้สอน
           อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายให้ข้อมูล ความรู้หลากหลายรูปแบบและละเอียด เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น และเเนะนำสิ่งดีๆเพิ่มเติมให้เสมอ



วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันพุธ ที่ 20 เมษายน 2559

บรรยากาศการเรียน
       อาจารย์และนักศึกษาเข้าห้องเรียน เข้าสอนตรงเวลา บรรยากาศการเรียนเต็มไปด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ สนุกสนาน มีความเป็นกันเองระหว่างอาจารย์และนักศึกษา นักศึกษาทุกคนก็ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังคำแนะนำจากอาจารย์กันเป็นอย่างดี

สาระ
1. การนำเสนอนิทาน
            วันนี้เป็นการนำเสนอการร่างนิทานที่แต่ละกลุ่มได้เตรียมมาตามหน่วยแต่ละหน่วยของตนเอง ได้แก่ หน่วยกล้วย หน่วยของเล่นของใช้ หน่วยยานพาหนะ หน่วยผลไม้ ซึ่งวันนี้เป็นการนำเสนอแผนการสอนของวันพุธและวันพฤหัสบดี และรวมวันศุกร์เข้ามามีส่วนบ้างเล็กน้อย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มนำเสนอวันพุธ และอีก 2 กลุ่มนำเสนอวันพฤหัสบดี โดยนำเสนอในรูปแบบของนิทานพร้อมบูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปร่วมด้วย

กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของกล้วย
นิทานเรื่องกล้วยน้อยช่างคิด
          นำเสนอด้วยรูปเล่มคล้ายหนังสือนิทานบิ๊กบุค ในเนื้อหาจะพูดถึงประโยชน์ของกล้วย เช่น ส่วนก้านกล้วยสามารถนำไปประดิษฐ์เป็นม้าก้านกล้วยสำหรับการละเล่นได้ ส่วนใบตอง สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นกระทง 2 กลีบ 3 กลีบ (เป็นการบูรณาการคณิตศาสตร์) หรือการนำใบตองไปห่อขนมเทียนก็สามารถบอกถึงรูปร่าง รูปทรง มุม ได้

กลุ่มที่ 2 หน่วยของเล่นของใช้
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของของเล่นของใช้
นิทานเรื่อง หนูจินสอนเพื่อน
         นำเสนอด้วยนิทานบิ๊กบุคขนาดใหญ่ สามารถใช้ได้ในเด็กกลุ่มใหญ่ๆ ใช้เทคนิคการเล่าด้วยนิทานคำกลอน ในเนื้อหาเป็นเรื่องของการเล่าถึงประโยชน์ของของเล่นของใช้ โดยมีตัวละครที่ชื่อหนูจินเป็นผู้เล่าเรื่อง โดยมีการบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของการจับคู่เข้าไปด้วย เช่น เสื้อต้องคู่กับกระโปรง ช้อนต้องใช้คู่กับซ้อม ถุงเท้าต้องใส่คู่กันไม่สามารถใส่เพียงข้างเดียวได้ และท้ายเรื่องหนูจินได้พูดสรุปถึงประโยชน์ของของเล่นของใช้ คือ ของใช้นั้นใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ใช้แล้วทำให้เกิดประโยชน์ ส่วนของเล่น เป็นของสมมติ ของเลียนแบบจากของจริง เล่นแล้วเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้
วันพฤหัสบดี เรื่อง ประโยชน์ของผลไม้
นิทาน เรื่องประโยชน์ของผลไม้
          นำเสนอด้วยรูปแบบนิทานเล่มเล็ก ใช้เทคนิคคำคล้องจอง ในเนื้อหาจะเป็นการพูดถึงประโยชน์ของผลไม่แต่ละชนิดว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง เช่น ส้มมีวิตามินซีช่วยเรื่องผิวใส เป็นต้น มีการบูรณาการคณิตศาสตร์ เรื่องรูปร่างรูปทรง ขนาด ที่มีลักษณะแตกต่างกันในผลไม้แต่ละชนิด มีการใช้คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ เช่น ใหญ๊ใหญ่ เป็นต้น

กลุ่มที่ 4 หน่วยยานพาหนะ
วันพุธ เรื่อง วิธีการดูแลรักษา
นิทาน เรื่องหมีน้อยกับรถคู่ใจ
            นำเสนอด้วยรูปแบบนิทานเล่มเล็ก เป็นนิทานบรรยายโดยมีตัวละคร คือ หมีน้อย คุณแม่และคุณยาย ในเนื้อหาจะเล่าถึงการดูแลรักษาการใช้ยานพาหนะก่อนจะใช้งาน เช่น การตรวจสภาพเครื่องยนต์ เช็คน้ำมัน ที่ปัดน้ำฝน ล้อรถ เป็นต้น และเมื่อใช้เสร็จแล้วก็ต้องทำความสะอาดโดยการล้าง การเช็ด มีการบูรณาการคณิตศาสตร์ในเรื่องของเวลาตั้งแต่หมีน้อยตื่นนอน จำนวนของผลไม้ที่อยู่ในตะกร้าที่จะนำไปฝากคุณยาย ทิศทางการเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาและตรงไป ตำแหน่งคือมีต้นมะม่วงต้นใหญ่ตั้งอยู่หน้าบ้านเป็นต้น

            หลังจากที่แต่ละกลุ่มนำเสนอนิทานเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ได้สรุปถึงการออกแบบนิทานเเละเนื้อหาของแต่ละกลุ่ม มีการให้คำแนะนำเพิ่มเติม แล้วกับบอกวิธีการแก้ไขอย่างละเอียดเมื่อมีข้อผิดพลาด และอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มไปเอาอุปกรณ์เพื่อมาทำให้นิทานที่ร่างไว้ให้วาด จัดตำแหน่ง วางตัวหนังสือ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยให้เสร็จสมบูรณ์

2.การนำเสนองานวิจัย
งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ (นางสาวยุคลธร ศรียะลา)
             เป็นการใช้ศิลปะบูรณาการ ศิลปะค้นหา และศิลปะเลียนแบบ 
ทักษะคณิตศาสตร์
1. การจำแนก
2. การบอกตำแหน่ง
3. การนับเลข
4. การรู้ค่าจำนวน


ทักษะ
1. ทักษะการออกแบบ
2. ทักษะการนำเสนอ
3. ทักษะการเล่านิทาน
4. ทักษะการใช้ประสบการณ์เดิม
5. ทักษะการต่อยอดความรู้
6. ทักษะการฟัง
7. ทักษะการสรุปองค์ความรู้

การนำไปประยุกต์ใช้
           สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากคำแนะนำของอาจารย์ไปประยุกต์ใช้ และต่อยอดองค์ความรู้ได้จากการนำเสนอนิทานของเพื่อนแต่ละกลุ่ม ทำให้มีประสบการณ์มากขึ้น ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆจากเพื่อนมากขึ้น มีแนวทางในการเสริมประสบการณ์ด้านคณิตศาสตร์จากการบูรณาการที่เราจะเสริมเข้าไปตามหน่วยแต่ละหน่วยที่เด็กเรียนรู้

เทคนิคการสอน
1. ให้นักศึกษานำเสนอความรู้สู่เพื่อนๆ
2. บรรยาย อธิบายวิธีการ เนื้อหาอย่างละเอียด
3. ให้เทคนิควิธีการใหม่ๆเพื่อให้นักศึกษานำไปใช้

ประเมินครูผู้สอน
               อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย เข้าสอนตรงเวลา  มีความเป็นกันเองกับนักศึกษาทำให้บรรยากาศในการเรียนเป็นไปอย่างสบายๆ มีคำแนะนำที่ดีสำหรับนักศึกษาเสมอ คอยบอกเทคนิคแนวทางที่จะทำให้นักศึกษาได้ประโยชน์อย่างสูงสุด


วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12
วันพุธ ที่ 30 มีนาคม 2559

บรรยากาศการเรียน
       วันนี้อาจารย์และนักศึกษาเข้าห้องเรียนกันตรงเวลา บรรยากาศการเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นกันเอง ครูยิ้มแย้มแจ่มใสนักศึกษาก็ยิ้มแย้มแจ่มใสตั้งใจเรียนฟังคำแนะนำของคุณครูเป็นอย่างดี

สาระ
1. กิจกรรมนำเสนอ
วิจัยเพิ่มเติม เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ (นายอารักษ์ ศักดิกุล)
        การวิจัยครั้งนี้ เปนการวิจัยกึ่งทดลอง  เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของ เด็กปฐมวัยกอนและหลังการทํากิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ ทั้งนี้เพื่อเปนประโยชน และเปน แนวทางสําหรับครู ผูปกครอง และผูที่เกี่ยวของกับการจัดการศึกษาปฐมวัย ในการพิจาณาเลือกกิจกรรม ที่จะชวยสงเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรแกเด็กปฐมวัยไดอยางเหมาะสม ซึ่งมีลําดับขั้นตอน ของการวิจัยและผลของการวิจัย โดยสรุป ดังนี้
 ความมุงหมายของการวิจัย 
       เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัย กอนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปสรางสรรคดวยขนมอบ ได้แก่ การสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก จัดหมวดหมู่
กลุมตัวอยาง   
       กลุมตัวอยางที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ เปนเด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุ 3 – 4 ป ซึ่งกําลัง ศึกษาอยูในชั้นอนุบาลปที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2551 ของโรงเรียนอนุบาลกุกไก  สังกัด สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน  จํานวน  20 คน 
       กิจกรรมศิลปสรางสรรคดวยขนมอบเปนกิจกรรมที่ใชขนมอบประเภทตางๆ ในการทํากิจกรรม เชน ขนมปง คุกกี้ เคก ฯลฯ ซึ่งในการทํากิจกรรมเด็กสามารถเลือกทําไดตามความสามารถ และ ความสนใจ โดยมีวัตถุประสงค เพื่อใหเด็กไดเกิดการเรียนรู จากการใชประสาทสัมผัสในการทํากิจกรรม ศิลปะสรางสรรคดวยขนมอบ ทั้งนี้ยังฝกฝนเรื่องการสังเกตและการจําแนก การเปรียบเทียบ การจัด หมวดหมู ซึ่งผูวิจัยสรางขึ้นโดยยึดหลักของการทํากิจกรรมศิลปสรางสรรค ตามคูมือหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย 2546 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวของกับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรค ตลอดจนการยึด ตามความเหมาะสมสอดคลองกับพัฒนาการและความสนใจของเด็กเปนหลัก
แผนการสอน
ชื่อกิจกรรม  ขนมปงแผนแตงหนา  
จุดประสงค
1. เพื่อใหนักเรียนไดพัฒนาการใชกลามเนื้อเล็กและการประสานสัมพันธระหวางมือกับตา  
2. เพื่อใหนักเรียนไดฝกการรับรูประสาทสัมผัส  
3. เพื่อใหนักเรียนไดรูจักสีแดง  สีขาว  สีเขียว  สีชมพู  
4. เพื่อใหนักเรียนไดฝกทักษะการสังเกตและการจําแนก  เปรียบเทียบ  จัดหมวดหมู  
5. เพื่อใหนักเรียนไดสงเสริมการแสดงออก  
6. เพื่อใหนักเรียนเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
เนื้อหา    ขนมปงแผนแตงหนา
กิจกรรมการเรียนรู  
ขั้นนํา  (กระตุ้นเด็ก)
1. นักเรียนและครูสนทนารวมกันคิดหาคําตอบจากปริศนาคําทาย อะไรเอย เปนแผน  สีขาว  นิยมทานคูกับแยม    
2. นักเรียนและครูสนทนารวมกัน  ดังนี้     
     2.1 ขนมปงมีลักษณะอยางไร  มีสีอะไร     
     2.2 ขนมปงมีสีอะไร  รสชาติเปนอยางไร  มีใครเคยทานบาง     
     2.3 นักเรียนคิดวาขนมปงทํามาจากอะไร     
     2.4 นักเรียนคิดวาขนมปงมีประโยชนไหม  และมีประโยชนอยางไร  
ขั้นสอน   
1. เด็กเลือกหยิบอุปกรณตามความสนใจของตนเอง  
 2. เด็กทํากิจกรรมตามความสนใจ โดยการนําขนมปงแผนรูปทรงตางๆ แยมผลไม  เกล็ด ช็อกโกแลต มาโรยหนา ทา วาด เขียน เพื่อสรางชิ้นงานตามความคิดและจินตนาการของตนเอง   
3. เมื่อทํากิจกรรมเสร็จแลวใหนําชิ้นงานวางบนถาดรองไปจัดรวมกันไวที่หนาชั้นเรียน   
4. เด็กชวยกันเก็บของ  ทําความสะอาดใหเรียบรอย
ขั้นสรุป   
1. นักเรียนนําเสนอผลงานของตนเองและสนทนารวมกับครู  ดังนี้    
     1.1 นักเรียนใชขนมปงรูปทรงใดบางมาทํากิจกรรม    
     1.2 ในชิ้นงานของนักเรียนมีอะไรที่เหมือนกัน  และอะไรที่ตางกัน  ตางกันอยางไร    
     1.3 ขนมปงของนักเรียนมีอะไรซอนอยูขางใน    
     1.4 นักเรียนคิดวาระหวางแยมผลไม กับเกล็ดช็อกโกแลต และขนมปง ตางกันหรือ เหมือนกันอยางไรบาง  
สื่อการเรียน  
1. ขนมปงแผนรูป  
2. แยมผลไมบรรจุในถุง 3สี  คือ  แยมสม  แยมสตอเบอรี่  แยมบลูเบอรรี่  แยมสัปปะรด 
3. เกล็ดช็อกโกแลต  
4. ถาดรองสําหรับวางชิ้นงาน  
5. ผาพลาสติกปูโตะ  
6. ถาดสําหรับใสขนม  
การประเมินผล  
1. สังเกตการทํากิจกรรมและการสนทนา  
2. สังเกตพฤติกรรมขณะเด็กทํากิจกรรม   



2. กิจกรรมการเรียนการสอน
นำเสนอแผนการจัดประสบการณ์แต่ละหน่วยที่ทุกกลุ่มเตรียมมา

หน่วย ยานพาหนะ

        สอนเรื่อง ประเภทของยานพาหนะ มี 3 ประเภท คือ ทางอากาศ ทางบก และทางน้ำ ขั้นนำเริ่มด้วยการถามประสบการณ์เดิมว่า "ตอนเช้าเด็กๆมาโรงเรียนกันด้วยยานพาหนะอะไรบ้าง"  ขั้นสอน ครูแนะนำอุปกรณื คือ ยานพาหนะที่อยู่ในกล่องและถามเด็กๆว่า ยานพาหนะประเภทนี้ควรจะอยู่ทางน้ำ ทางบก หรือทางอากาศ ให้เด็กๆออกมานำยานพาหนะไปติดทีละคน เช่น บอลลูน นไปติดบนฟ้า เป็นต้น
        กลุ่มนี้อาจารย์ให้คำแนะนำว่า กล่องที่ใช้ใส่ยานพาหนะให้ลองใช้ผ้าคลุม สมมติเป็นโรงเก็บยานพาหนะ และควรสอนไปอย่างเป็นขั้นตอน จากง่ายๆไปหายาก ไม่ควรมองข้ามจุดเล็กๆที่เราสามารถเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้ เช่น นำยานพาหนะออกมา แล้วนำตัวเลขฮินดูอารบิคไปติดกำกับไว้ เป็นต้น

หน่วย ของเล่นของใช้

           สอนเรื่องประเภทของเล่นของใช้ คือ มี 2 ประเภทได้แก่ ของเล่น และของใช้ ขั้นนำ เริ่มด้วยเพลงเก็บของ และเชื่อมโยงด้วยคำถาม คือ ถามเด็กๆว่า เวลาที่เด็กเล่นหรือใช้ของใช้ เด็กๆเก็บเข้าที่กันหรือเปล่า แล้วของเล่นของใช้ที่เด็กๆรู้จักหรือเคยใช้มีอะไรบ้าง (ถามประสบการณ์เดิม) ขั้นสอน สอนด้วยการที่ครูนำสื่อองเล่นของใช้ของจริงมาให้เด็กดู และบอกชื่อของชิ้นนั้น รูแจกของเล่นของใช้ให้เด็กคนละ 1 ชิ้น โดยให้เด็กนับไปด้วยเมื่อครูแจกคนที่ 1 ให้เด็กๆนับหนึ่ง เมื่อครูแจกคนที่สองให้เด็กๆนับสอง ไปจนถึงคนสุดท้าย แล้วครูสรุปว่าของเล่นของใช้มีทั้งหมด 15 ชิ้น และครูให้เด็กสำรวจของเล่นของใช้ที่ตนเองได้ และให้เด็กๆแยกประเภทว่าของที่ตนเองได้เป็นของเล่นหรือของใช้ แล้วให้เด็กนำมาวางไว้ที่ตะกร้าหน้าห้องให้ถูกต้อง ขั้นสรุป คือให้เด็กออกมาเสนอว่าของเล่นที่ตนเองได้เป็นของเล่นหรือของใช้ และครูพูดสรุปว่าของเล่นของใช้มีกี่ประเภท 
         กลุ่มของดิฉัน อาจารย์ให้คำแนะนำว่า เพลงที่นำมาใช้ควรเป็นเพลงอื่น เพราะเพลงนี้น่าจะไปอยู่ในหัวข้อการดูแลรักษา และต้องมีการสอนอย่างเป็นลำดับขั้นตอน สื่อที่นำมาให้เด็กดู ควรมีเกณฑ์บอก คือนิยามของคำว่าของใช้ ของใช้คือสิ่งที่เรานำมาใช้แล้วมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ส่วนสิ่งที่นำมาใช้แล้วไม่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตก็ให้จัดอยู่ในกลุ่มของเล่น เป็นต้น และภาชนะที่ใช้ใส่ของเล่นของใช้ควรเป็นตะกร้าไม่ควรเป็นถุงกระดาษ ถ้าหากพูดว่า วันนี้ครูไปช้อปปิ้งมาได้ของมาเยอะเเยะเลยเด็กๆลองทายสิว่าในถุงนี้ครูซื้ออะไรมาบ้างน้า อาจใช้เป็นถุงกระดาษได้ (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์)

หน่วย ผลไม้

               สอนเรื่องชนิดของผลไม้ ที่ยกมาวันนี้คือผลไม้ 2 ชนิด มะยงชิด กับองุ่น ครูพูดคุยถามเด็กเกี่ยวกับผลไม้ที่เด็กๆรู้จัก และให้ลองสังเกตผลไม้แต่ละชนิดว่ามีลักษณะอย่างไร ให้สังเกต รูปทรง กลิ่น สี ส่วนประกอบ และรสชาติ ของผลไม้ และสรุปโดยการให้เด็กๆช่วยกันตอบว่าผลไม้ 2 ชนิดมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง
               อาจารย์แนะนำว่า การสอนต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนเป็นแพทเทิล เช่น ครูให้เด็กสังเกตภายนอกก่อน รูปทรง สี ขนาด แล้วค่อยดูภายในคือส่วนประกอบ อาจจะผ่าให้ดูแล้วตัดเป็นชิ้นเล็กๆให้เด็กดมกลิ่น และชิมรส ขั้นสรุปครูควรเป็นผู้สรุปว่าผลไม้ทั้งสองชนิดมีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง และลักษณะของผลไม้เป็นอย่างไร
หน่วย กล้วย

           สอนเรื่องชนิดของกล้วย ที่ยกมาวันนี้คือ กล้วย 2 ชนิด ได้แก่ กล้วยหอมทองและกล้วยน้ำว้า ขั้นนำโดยเพลงกล้วย ครูนำกล้วยชนิดที่ 1 ให้เด็กสังเกตดู แล้วถามเด็กว่ามีลักษณะอย่างไร แล้วครูเติมคำลงในช่องวิเคราะห์ข้อมูล ต่อมา ครูนำ กล้วยชนิดที่ 2 ขึ้นมาให้เด็กสังเกตดู แล้วถามเด็กๆว่ามีลักษณะอย่างไรพร้อมเติมคำลงในช่องวิเคราะห์ข้อมูล ขั้นสรุป ครูสรุปว่ากล้วยมีลักษณะ สี ขนาด รูปทรง รสชาติ กลิ่น ส่วนประกอบ เป็นอย่างไร
           ครูเสนอว่า ตารางวิเคราะห์ควรเรียงลำดับเป็นขั้นตอน คือสี  รูปทรง ส่วนประกอบ กลิ่น และรสชาติ แล้วค่อยพูดถึงเรื่องขนาดเมื่อนำกล้วยทั้งสองชูขึ้นมาให้เด็กดู เพื่อให้เด็กเปรียบเทียบเล็กกว่า ใหญ่กว่า เป็นต้น สอนจากง่ายไปยากเพราะเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก
          หลังจากทุกกลุ่มนำเสนอครบเรียบร้อยแล้วอาจารย์ให้นักศึกษาอธิบายหัวข้อต่อไป คือ วันพุธ หัวข้อ การดูแลรักษาของเล่นของใช้ วันพฤหัส หัวข้อ ประโยชน์
แผนเรื่อง การดูแลรักษา
ขั้นนำ 
เริ่มต้นด้วยแผ่นชาร์จเพลง  เก็บของ พูดคุยสนทนากับเด็ก  
ขั้นสอน  
ครูเตรียมอุปกรณ์ของเล่นของใช้วางคละกัน  ถามเด็กๆว่าจะมีวิธีเก็บรักษาของเล่นของใช้กันแบบไหนกันบ้าง จากนั้นก็จะแยกประเภทของเล่นของใช้  เช่น  ของใช้เป็นจาน  ช้อน  แก้ว  เราก็ต้องทำความสะอาดด้วยการล้างแล้วก็เอามาคว่ำให้แห้งแล้วถึงเก็บเอามาจัดวางให้เรียบร้อย  ส่วนของเล่นเราก็เอามาจัดวางให้เรียบร้อยเวลาที่เราเล่นเสร็จเราควรเอามาทำความสะอาดและเอามาผ้าเช็ดอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง
ขั้นสรุป  
ครูพูดสรุปวิธีการดูแลรักษาของเล่นของใช้ในวันนี้เราทำอะไรกันบ้าง  สรุปว่าความแตกต่างของใช้เราต้องทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้  ส่วนของเล่นเมื่อเราเล่นไปนานๆอาจจะสกปรกหรือมีฝุ่นเกาะเราอาจจะนำออกมาทำความสะอาดอาทิตย์ละครั้ง


ทักษะ
1. ทักษะการฟัง
2. ทักษะการสังเกต
3. ทักษะการคิดวิเคราะห์
4. ทักษะการรวบรวมข้อมูล
5. ทักษะในการเป็นผู้สอน (เป็นผู้สอนที่ดี)
6. ทักษะในการคิดต่อยอดองค์ความรู้

การนำไปประยุกต์ใช้
       ได้รับความรู้ในเรื่องของเนื้อหา หน่วยที่เราจะต้องใช้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก ไม่ใช่เพียงรู้แต่หน่วยของกลุ่มตนเองเองเท่านั้น แต่ยังได้เรียนรู้หน่วยอื่นๆของเพื่อนที่นำมาเสนอ เพื่อเป็นแนวทางให้เรานำไปประยุกต์ทำแผนการสอนได้เมื่อเราจัดกิจกรรมในหน่วยนั้นๆ และวิธีการสอนต้องสอนเด็กจากสิ่งง่ายๆก่อน สิ่งไหนจุดใดที่เราสามารถเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กได้เราก็ไม่ควรพลาดที่จะเติมเข้าไป เพราะจะทำให้เด็กได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย และเป็นผลดีต่อตัวครูที่จะได้เรียนรู้ไปด้วย

เทคนิคการสอนของครู
1. ให้นักศึกษานำเสนอความรู้สู่เพื่อนๆ
2. จำลองสถานการณ์จริง
3. บรรยาย อธิบายวิธีการ เนื้อหาอย่างละเอียด
4. ให้เทคนิควิธีการใหม่ๆเพื่อให้นักศึกษานำไปใช้

ประเมินครูผู้สอน
           ครูละเอียดมากในวันนี้ เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่นักศึกษาต้องเรียนรู้ ครูอธิบาย ยกตัวอย่าง ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุงแก้ไข เสริมความรู้ใหม่ๆพร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในเรื่องของการเป็นผู้ฟังที่ดีให้แก่นักศึกษาอยู่เสมอ


วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันพุธ ที่ 23 มีนาคม 2559

บรรยากาศการเรียน
        บรรยากาศในวันนี้ค่อนข้างเย็นสบายและเป็นครั้งแรกที่ย้ายมาเรียนตึกใหม่ ห้องกว้างมากสำหรับนักศึกษาเพียง 20 คน แต่อาจารย์ก็สอนตามปกติ ใช้เสียงในระดับปกติ การเรียนเต็มไปด้วยความสนุกสนานมีการพูดคุยสนทนาโต้ตอบกันตลอดการเรียนการสอน

สาระ
1.การนำเสนอ
บทความ เรื่อง คณิตศาสตร์กับชีวิต (นางสาวชื่นนภา เพิ่มพูล)
               “จุดมุ่งหมายของการศึกษาในอดีตจะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนการสอนในช่วงต้นรัตนโกสินทร์คือระหว่างปี พ.ศ. 2325-2426 นั้นประเทศไทยยังไม่มีโรงเรียน แต่มีการเรียนกันที่วัดหรือที่บ้าน ความมุ่งหมายในสมัยนั้นคือ การให้สามารถ อ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขได้ นอกจากนั้นอาจมีการเรียนช่างฝีมือกันที่บ้าน...” (ทิศนา แขมณี: ศาสตร์การสอน; 29)
                จากข้อความข้างต้นจะเห็นว่าความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ และถ้าจะค้นหาลึกลงไปนั้นในสมัยโบราณก็คงจะมีการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ในสังคมให้ความสำคัญกับการคำนวณ การเปรียบเทียบด้วยตัวเลข เปรียบเสมือนกับเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของบุคคลต่างๆในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดของสังคม หรือต่างชนชาติกันก็ตาม คณิตศาสตร์ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นสากล ได้แก่การบวก ลบ คูณ หาร และในความเชื่อที่ว่าคณิตศาสตร์เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่มีรูปแบบและขั้นตอนมาตรฐาน ดังนี้คือ 
(1)หาสิ่งที่ต้องการทราบ
(2)ว่างแผนการแก้ปัญหา 
(3)ค้นหาคำตอบ 
(4)ตรวจสอบ
               จากขั้นตอนทางคณิตศาสตร์นี้เป็นกระบวนการแก้ปัญหาที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ เพื่อให้เกิดลำดับขั้นตอนในการแก้ไขสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น เปรียบเสมือนการแก้ปัญหาสิ่งๆหนึ่งโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อหาข้อค้นพบและสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆได้อย่างมีระบบ ระเบียบ
                จะเห็นได้ว่าความสำคัญของคณิตศาสตร์นั้นมีความสำคัญกับชีวิตประจำวันเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคคลในสังคมให้เกิดการแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ การขาย การคำนวณสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานในการหาข้อสรุปเพื่อให้เกิดชิ้นงานต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อสิ่งที่บุคลต้องการให้เป็นไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง สิ่งอำนวยความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นจากข้อความข้างต้นจะเสนอความสอดคล้องของคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวันได้อย่างไรดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
                การซื้อขายของ เป็นการใช้หลักคณิตศาสตร์พื้นฐานได้แก่ การคำนวณในเรื่องของต้นทุน และการได้กำไร การกำหนดราคาเพื่อการตีค่าของราคาที่จะขายเพื่อให้เกิดกำไร ซึ่งเกี่ยวข้องหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นในการดำเนินการซื้อขาย  นอกจากนนี้ยังมีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งก็ไม่พ้นในเรื่องของการใช้หลักคณิตศาสตร์ในการควบคุมการทำงาน
                การสร้างที่อยู่อาศัย เป็นการคำนวณอัตราส่วนของพื้นที่ในการการปลูกสิ่งปลูกสร้าง ในที่นี้ขอยกตังอย่างการสร้างที่อยู่อาศัย เริ่มตั้งแต่การคำนวณหาพื้นที่ในการสร้าง โดยหลักการวัดพื้นที่ (กว้าง x ยาว) จากนั้นต้องมี่การคำนวณโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างต่างๆได้แก่ ปูน หิน ทราย ไม้กระเบื้องและอื่นๆที่เป็นสวนประกอบของการสร้างที่อยู่อาศัย โดยการผสมปูน ได้แก่การคำนวณอัตราส่วนของส่วนผสมในการสร้างบ้าน ซึ่งแตกต่างกันในการใช้งานเช่น พื้นปูนอาจมีการผสมให้มีความหยาบเพื่อใช้เป็นฐานของโครงบ้าน การฉาบอิฐจะต้องมีการละเอียดของปูนเพื่อให้เกิดการยึดแน่นของอิฐกับปูนเพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงาม เป็นต้น
                การเงินการธนาคาร เป็นการออมทรัพย์เพื่อให้เกิดความความมั่นของชีวิต มีการคำนวณดอกเบี้ย ผลกำไร การปันผล การแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงิน โดยมีวิธีจูงใจผู้ฝากในรูปแบบต่างๆเช่น การออมทรัพย์ กระแสรายวัน ฝากประจำ ซึ่งมีการให้ดอกเบี้ยแตกต่างกันไป ขึ้นกับแต่ละธนาคารว่าจะให้ผลประโยชน์กับผู้ฝากอย่างไรและผู้ฝากเป็นผู้ตัดสินใจในการใช้บริการทางการเงินกับธนาคารใด
                ทางการศึกษา เป็นการคำนวณหาค่าต่างๆทีเกี่ยวข้องกับการให้คะแนน วิจัย การทดลองโดยใช้ค่าทางสถิติเพื่อให้เกิดข้อค้นพบต่างๆในเชิงปริมาณเพื่อหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

บทความ เรื่อง การเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ (นางสาวสุดารัตน์ อาจจุฬา)
คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น 
- การตื่นนอน (เรื่องของเวลา)
- การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า) 
- การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ) 
- การเดินทาง(เวลา ตัว เลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง) 
- การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ 

             เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มี อยู่จริงในชีวิตประจำวัน   กิจกรรมใด ๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน การจัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทียบ หรือ   เรียงลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัด กิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาส ให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส ได้กระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและ   ผู้ใหญ่ เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัวการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร  การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร ควรเน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 4 ด้าน ดังนี้
1.การสังเกตการจำแนกและการเปรียบเทียบ
    1.1 การจำแนกความเหมือนความแตกต่าง
    1.2 การจัดหมวดหมู่
    1.3 การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ
2.ทางด้านตัวเลข และจำนวน
    2.1 การนับจำนวน
    2.2 การรู้ค่าของจำนวน
    2.3 การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน
3.ทางด้านมิติสัมพันธ์
    3.1 เข้าใจตำแหน่ง
    3.2 เข้าใจระยะ
    3.3 การเข้าใจทิศทาง
    3.4 การต่อชิ้นส่วนภาพ
4.ทักษะทางด้านเวลา
    4.1 การเปรียบเทียบในเรื่องเวลา
    4.2 การเรียงลำดับเหตุการณ์
    4.3 ฤดูกาล
          *อาจารย์เสริมว่าบทความของเพื่อนนี่มีความเกี่ยวข้องกับทักษะทางคณิตศาสตร์ทั้ง 7 ทักษะ คือ
1. ทักษะการสังเกต (Observation) คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุประสงค์ เช่น การจะหาข้อมูลที่เป็นรายละเอียดของสิ่งนั้น ๆ โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของตนเองลงไป               
2. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น  ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม ซึ่งแล้วแต่เด็กจะเลือกใช้(ดังนั้นครุควรถามเมื่อจัดกิจกรรมทั้งนี้เพื่อให้ประเมินเด็กได้อย่างถูกต้อง) ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง เมื่อเด็กสามารถสร้างความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความสัมพันธ์แล้วเด็กจึงจะจำแนกโดยใช้ความสัมพันธ์ร่วมได้               
3. ทักษะการเปรียบเทียบ (Comparing) คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง นั่นแสดงให้เห็นว่า เด็กเห็นความสัมพันธ์ของลูกบอล คือ เล็ก - ใหญ่ ความสำคัญในการเปรียบเทียบ คือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น ๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์  การเปรียบเทียบนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการเรียนในเรื่องการวัดและการจัดลำดับ               
4. ทักษะการจัดลำดับ (Ordering) คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม การจัดลำดับในครั้งแรก ๆ ของเด็กปฐมวัยจะเป็นไปในลักษณะการจัดกระทำกับสิ่งของสองสิ่ง เมื่อเกิดการพัฒนาจนเกิความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเด็กจึงจะสามารถจัดลำดับที่ยากยิ่งขึ้นได้               
5. ทักษะการวัด (Measurement) เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่) เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม               
6. ทักษะการนับ (Counting) แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน ได้แก่ การนับปากเปล่า บอกขนาดของกลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น  นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข  การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน  การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน ในเด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย การนับแบบท่องจำนี้จะมีความหมายต่อเมื่อเชื่อมโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง เช่น การนับจำนวนเพื่อนในห้องเรียน นับขนมที่อยู่ในมือ แต่การนับของเด็กอาจสับสนได้หากมีการจัดเรียงสิ่งของเสียใหม่ เมื่อเด็กเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์(จำนวน)แล้วเด็กปฐมวัยจึงจะสามารถเข้าใจเรื่องการนับจำนวนอย่างมีความหมาย               
7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด (Sharp and Size) เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ อยู่เสมอในแต่ละวัน  เราจึงมักจะได้ยินเด็กพูดถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรูปทรงหรือขนาดอยู่เสมอ  ครูสามารถทดสอบว่าเด็กรู้จักรูปทรงหรือไม่ได้โดยการให้เด็กหยิบ/เลือก สิ่งของตามคำบอก เมื่อเด็กรูปจักรูปทรงพื้นฐานแล้วครูสามารถสอนให้เด็กรู้จักรูปทรงที่ยากขึ้นได้
ทักษะพื้นฐานในการคิดคำนวณ สำหรับเด็กปฐมวัยอาจแบ่งได้ 3 ทักษะ 
1. ทักษะในการจัดหมู่
2. ทักษะในการรวมหมู่(การเพิ่ม)
3. ทักษะในการแยกหมู่(การลด)

2.กิจกรรมสรุปองค์ความรู้

  

     วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำโครงร่างของหัวข้อ mind map ที่เราเขียนร่างไว้ออกมานำเสนอ ซึ่ง จะมี 5 หัวเรื่อง 5 วัน แบ่งเป็นวันจันทร์หัวเรื่องที่ 1 วันอังคารหัวเรื่องที่ 2 วันพุธหัวเรื่องที่ 3 วันพฤหัสบดีหัวเรื่องที่ 4 และวันศุกร์หัวเรื่องที่ 5 
โดยอาจารย์ให้นักศึกษานั่งกันเป็นกลุ่มนั่งเรียงตามวันที่แต่ละคนไปร่างแผนมา และอาจารย์ถามแต่ละกลุ่มว่าวันจันทร์ หัวข้ออะไรและจัดกิจกรรมอะไร กลุ่มของดิฉันคือหน่วยของเล่นของใช้
1.ประเภท - ของเล่น ของใช้
2.ลักษณะ - สี พื้นผิว ขนาด รูปร่างรูปทรง
3.การเก็บรักษา - เก็บให้เข้าที่ ทำความสะอาด รักษาและซ่อมแซม แยกประเภท
4.ประโยชน์ - ใช้ในการดำเนินชีวิต ส่งเสริมพัฒนาการ
5.ข้อควรระวัง - ของอาจแตกหักได้
    สำหรับวันจันทร์กลุ่มของดิฉันใช้กิจกรรมแยกประเภท คือ ให้เด็กสามารถแยกของเล่นของใช้ได้ อาจารย์ให้คำเสนอแนะว่าเราต้องมีการบูรณาการคณิตศาสตร์เข้าไปร่วมด้วย

กิจกรรม แยกของเล่นของใช้ (วันจันทร์ ประเภท)
ขั้นนำ 
1. นำเด็กเข้าสู่กิจกรรมด้วยเพลง ของเล่นของใช้
ขั้นสอน
2. ครูถามเด็กว่า เด็กๆรู้จักของเล่นของใช้อะไรในเพลงบ้าง และนอกจากเพลงนี้เด็กๆรู้ไหมว่ามีของเล่นของใช้อะไรบ้าง (ให้เด็กๆตอบประสบการณ์เดิม)
3. ครูนำสื่อของจริง ของเล่นของใช้มาให้เด็กดูทีละอย่างและอธิบายว่ามันคืออะไร
4. ครูแจกของเล่นของใช้ให้เด็กคนละ 1 ชิ้น โดยให้เด็กนับไปด้วยเมื่อครูแจกคนที่ 1 ให้เด็กๆนับหนึ่ง เมื่อครูแจกคนที่สองให้เด็กๆนับสอง ไปจนถึงคนสุดท้าย แล้วครูสรุปว่าของเล่นของใช้มีทั้งหมด 15 ชิ้น
5. ครูให้เด็กสำรวจของเล่นของใช้ที่ตนเองได้ และให้เด็กๆแยกประเภทว่าของทีตนเองได้เป็นของเล่นหรือของใช้ แล้วให้เด็กนำมาวางไว้ที่ตะกร้าหน้าห้องให้ถูกต้อง 
ขั้นสรุป
6. เด็กออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนว่าของเล่นของใช้ของตนเองคืออะไร เป็นแบบไหน

กิจกรรม จำแนกแสนสนุก (วันอังคาร ลักษณะ)
ขั้นนำ
1. ครูนำเด็กเข้าสู่กิจกรรมด้วย ภาพตัดต่อ ให้เด็กๆลองทายว่าคืออะไร
ขั้นสอน
2. ครูอธิบายอุปกรณ์องเล่นของใช้แต่ละชิ้นว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น แก้วน้ำ เป็นรูปทรงกระบอก พื้นผิวเรียบ ตุ๊กตา  ขนาดเล็ก พื้นผิวนิ่ม เป็นต้น
3. ครูให้เด็กสังเกตของเล่นของใช้แต่ละชิ้นโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
4. ครูอธิบายวิธีการทำกิจกรรม โดยให้เด็กจำแนกของเล่นของใช้ที่มีลักษณะเหมือนกัน เช่น สี พื้นผิว ขนาด รูปร่างรูปทรง เหมือนกันไว้ด้วยกันให้ถูกต้อง
ขั้นสรุป
5. ครูและเด็กตรวจสอบร่วมกันว่าจำแนกได้ถูกต้องหรือไม่ แล้วนับของแต่ละชิ้น 
6. ครูพูดสรุปเกี่ยวกับลักษณะของเล่นของใช้

    แต่ละหน่วยที่เรานำมาจัดกิจกรรมนั้นสามารถบูรณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ได้หากเรารู้จักวิธีการใช้ และแต่ละหน่วยจะมีลักษะที่แตกต่างกัน เช่น หน่วยกล้วย หน่วยผลไม้ หน่วยยานพาหนะ ทำให้เราสามารถเสริมประสบการณ์ให้เด็กได้อย่างหลากหลายวิธี เพราะเด็กต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิธีการเรียนรู้ ดังนั้นครูจำเป็นจะต้องมีเทคนิคที่หลากหลายเพื่อนำมาใช้กับเด็ก
    เมื่ออาจารย์สรุปแนะนำวิธีการทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว อาจารย์จึงให้นักศึกษาลองนำไปใช้เพื่อเขียนแผนสำหรับนำไปจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก

ทักษะ
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการนำเสนอผลงาน
3.ทักษะการตอบคำถามอาจารย์
4.ทักษะการนำไปปรับใช้
5.ทักษะการใช้เทคโนโลยี
6.ทักษะการคิดวิเคราะห์
7.ทักษะการเขียนแผน
8.ทักษะการเชื่อมโยง

การนำไปประยุกต์ใช้
- มีแนวทางการจัดกิจกรรมโดยบูรณาการคณิตศาสตร์เข้าร่วม จัดประสบการณ์ให้กับเด็กอย่างหลากหลาย
- มีข้อมูลที่ถูกต้องไปปรับใช้ในผลงานได้มากขึ้น สามารถเขียนแผนได้บูรณาการให้เข้ากับวิชาอื่นๆได้

เทคนิคการสอนของครู

1. ให้นักศึกษานำเสนอความรู้สู่เพื่อนๆ
2. บรรยายเนื้อหาการเรียนครบถ้วนและเข้าใจ  
3. เปิดโอกาศให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น

ประเมินครูผู้สอน

             อาจารย์มีความตั้งใจในการสอน สรุปความรู้ประเด็นสำคัญให้นักศึกษานำไปใช้ กระตุ้นให้นักศึกษารู้จักเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ คอยให้คำแนะนำสอดเเทรกความรู้เพิ่มเติมให้นักศึกษาอยู่เสมอให้คำแนะนำและวิธีการจัดประสบการณ์การสอนอย่างละเอียดชัดเจน